ข่าวประชาสัมพันธ์

กิจกรรม Thailand Research Expo: Symposium 2020 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

29 เมษายน 2563   ประเภทข่าว : ข่าวประชุมวิชาการ    : 1721 ครั้ง




ความสำคัญ
    การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๓ (Thailand Research Expo 2020)” เป็นเวทีระดับชาติที่นำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ  เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม โดยกำหนดจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ด้วยความร่วมมืออันดีระหว่างหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยปีนี้ จัดขึ้นเป็นที่ ๑๕
 
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการวิจัยไทย” และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่องานวิจัยไทย
๒.เพื่อเป็นเวทีระดับชาติ ในการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพพร้อมใช้ประโยชน์ และขับเคลื่อนให้เกิดการกระจายองค์ความรู้ กระจายโอกาสการเข้าถึงฐานข้อมูลความรู้การวิจัยและนวัตกรรม
๓.เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ เชื่อมโยงผู้ผลิตงานวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์ โดยการบูรณาการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างองค์กรและเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ
๔.เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ สร้างแรงขับเคลื่อนให้เกิดกลไกสนับสนุนและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เป็นฐานความรู้ไปสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ ระดับประเทศและนานาชาติ
 
กำหนดการจัดงาน
๒ – ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓
 
สถานที่จัดงาน
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลผลิตงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ ได้นำส่งต่อผู้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
 
กิจกรรมภายในงาน
๑. ภาคการประชุม/สัมมนา ๔ รูปแบบ มากกว่า ๑๐๐ หัวข้อเรื่อง ได้แก่
   ๑.๑  การประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ในหัวข้อสำคัญสำหรับการบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ ประมาณ ๑,๐๐๐ คน/เรื่อง
   ๑.๒  การประชุม/สัมมนาขนาดกลาง ในประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ควรเร่งแก้ไข ประมาณ ๒๐๐ – ๔๐๐ คน/เรื่อง
   ๑.๓   การประชุมกลุ่มเฉพาะเรื่องในประเด็นเฉพาะที่น่าสนใจประมาณ ๕๐ - ๑๐๐ คน/เรื่อง
   ๑.๔  การถ่ายทอดเทคนิค/กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (Twilight Program)
 
๒. ภาคนิทรรศการ
   ๒.๑ นิทรรศการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์
   ๒.๒ นิทรรศการผลงานวิจัยและกิจกรรมการวิจัยจากหน่วยงานในระบบวิจัย ร่วมด้วย “นิทรรศการงานวิจัย    เพื่อท้องถิ่น” และ “นิทรรศการชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม”
   ๒.๓ นิทรรศการผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา
 
๓. การส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยในสาขาวิชาการต่างๆ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยที่มีคุณภาพต่อผู้สนใจและผู้ใช้ประโยชน์ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และพัฒนาศักยภาพของการเรียนรู้ในศาสตร์สาขาวิชาการในประเด็นสำคัญอื่นๆ (Thailand Research Expo : Symposium 2020)
๔. การสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ
๕. การจัดกิจกรรม Highlight Stage เป็นเวทีหลักที่ใช้เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความพร้อมใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชุมชน/องค์กร/พาณิชย์ ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย โดยการกำหนดประเด็นเฉพาะและมีพิธีกรมืออาชีพเป็นผู้ดำเนินการ
๖. กิจกรรมการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัย (Research Clinic)
๗. การจัดกิจกรรมมอบรางวัลมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๓ (Thailand Research Expo 2020 Award)
๘. การจัดกิจกรรมประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ๒๕๖๓ เป็นการส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาในทุกระดับจากสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้บ่มเพาะความรู้และแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม ได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมและประกวดแข่งขัน


Theme หลักของงาน
     
“วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
 
Theme ที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน
๑. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้
๒. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม
๓. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๔. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
๕. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Economy Model
 
Theme ที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน
 
๑. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้  ครอบคลุมงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับ
   ๑.๑) การสร้างระบบผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ
   ๑.๒) การผลิตกำลังคนระดับสูงรองรับ EEC และระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ
   ๑.๓) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต
   ๑.๔) การส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต (AI for All)
   ๑.๕) การส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ
   ๑.๖) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัยที่สำคัญ  
   
๒. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม ครอบคลุมงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับ
   ๒.๑) โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม พลังงาน เกษตรและอาหาร
   ๒.๒) สังคมสูงวัย
   ๒.๓) สังคมคุณภาพและความมั่นคง
 
๓. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ครอบคลุมงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับ
   ๓.๑) การยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ
   ๓.๒) การสร้างและยกระดับศักยภาพวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรม
   ๓.๓) โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพและบริการ
   ๓.๔) เศรษฐกิจดิจิทัลและข้อมูล
   ๓.๕) ระบบโลจิสติกส์
   ๓.๖) การบริการมูลค่าสูง (การท่องเที่ยว)
 
๔. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ ครอบคลุมงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับ
   ๔.๑) นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
   ๔.๒) การขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
   ๔.๓) เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
 
๕. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG  Model  ครอบคลุมงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับ
   ๕.๑) เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง 
   ๕.๒) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นการนำทรัพยากร หรือวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด หรือการลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ การนำวัสดุเหลือทิ้งมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
   ๕.๓) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ ลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน


การติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สามารถติดต่อได้ที่
 
หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๕๖๑ ๒๔๔๕ ต่อ ๕๑๕,๕๑๗,๕๑๘,๕๑๙
โทรสาร ๐ ๒๕๗๙ ๐๑๐๙, ๐ ๒๕๗๙ ๐๔๕๕

การจัดการภาพรวม
นางสาวภาวณี คำชาลีหัวหน้าฝ่ายจัดการความรู้การวิจัย ต่อ ๕๑๔

ผู้ช่วยประสานงาน
นายธนาเอก แปลงกาย ต่อ ๕๑๕

ผู้ดูแลระบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
นายวิทยา จั่วสันเทียะ    ต่อ ๕๑๘ E – mail : widthaya.nrct@hotmail.com
นางสาวกนกรัตน์ หนูสวัสดิ์ ต่อ ๕๑๙ E – mail : kanokrat.n@nrct.go.th

ผู้ประสานงานภาคนิทรรศการ
นางสาวนิราภรณ์ ขันตี ต่อ ๕๑๗ E – mail : keuntee@hotmail.com

ผู้ประสานงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
นายเจตน์นที ราชเมืองมูล โทร 055 267 038 หมายเลยโทรศัพท์ภายใน 7230 E-mail : Jadenatheeyoke@gmail.com



ลิงก์เพิ่มเติม : https://researchexpo.nrct.go.th/web2020/index.php
ไฟล์แนบ : คลิกดูไฟล์แนบ




แชร์ข่าวนี้บน facebook