ข้อมูลโครงการการ

รายละเอียดโครงการ โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21

ชื่อโครงการ : โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21

กิจกรรม : โครงการพัฒนาศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อชุมชน

ผู้รับผิดชอบ : อาจารย์อธิษฐาน งามกิจวัตร
คณะ/หน่วยงาน :
  - ผู้ร่วมโครงการ : กาญจนา วงษ์วัฒนพงษ์
  - ผู้ร่วมโครงการ :
  - ผู้ร่วมโครงการ :

• สภาพการณ์ของท้องถิ่นและสังคมก่อนมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น :

บ้านวังหาด ต.ตลิ่งชัน อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย เป็นชุมชนที่เป็นพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความรักและภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของชุมชน การดําเนินการในปีงบประมาณที่ผ่านมาจะเป็นการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการพัฒนาโฮมสเตย์ให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ บ้านวังหาดยังเป็นที่รู้จักในเรื่องผ้าทอย้อมดินและเกษตรอินทรย์ โดยผ้าทอย้อมดินเกิดจากการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่ที่ประกอบอาชีพทอผ้า ผ้าทอบ้านวังหาดจะมีเอกลักษณ์คือ เป็นผ้าทอที่มีกระบวนการในการผลิตที่เป็นธรรมชาติ 100% โดยเฉพาะการย้อมสีผ้าด้วยดินบ้านวังหาดซึ่งเป็นดินที่มีสีเป็นเอกลักษณ์ ในส่วนเกษตรอินทรีย์เกิดจากการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่แต่เดิมทําการเกษตรแบบใช้สารเคมีเร่งผลผลิตในการเพาะปลูก

• รูปแบบการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน :

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อชุมชน ณ บ้านวังหาด ต.ตลิ่งชัน อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย ซึ่งชุมชนเป็นพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างต่อเนื่องทำให้ทราบถึงบริบทและปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชน โดยทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้เล็งเห็นว่า บ้านวังหาดมีความโดดเด่นในเรื่องผ้าทอย้อมดินและผักเกษตรอินทรีย์ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง  ทางคณะฯ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อชุมชน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านการขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ และผลักดันให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่เพื่อช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนในชุมชน

การดำเนินโครงการมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ

                        1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีทักษะความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

                        2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนนำความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชุน

 โดยได้ออกแบบแผนการดำเนินงานดังต่อไปนี้

                        กิจกรรมที่ 1 - 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ “Tik Tok แพลตฟอร์มแห่งโอกาส สู่การแจ้งเกิดทางธุรกิจ”

                        กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจริง “Tik Tok แพลตฟอร์มแห่งโอกาส

                        กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมลงมือปฏิบัติการจริง “Tik Tok แพลตฟอร์มแห่งโอกาส สู่การแจ้งเกิดทางธุรกิจ”

 

• บรรยายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย :
(ระบุหน่วยงานเครือข่าย และบรรยายว่ามีความร่วมมือกันแบบใด เช่น วางแผน ดำเนินงาน ติดตาม และปรับปรุง/พัฒนา)

คณะดําเนินงานได้มีการวางแผนการทํางานโดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์การเรียนรู้ตําบลตลิ่งชัน อําเภอบ้านด่านลานหอย (กศน.) จังหวัดสุโขทัย ในการให้ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อใช้ในการวางแผนการดําเนินงานให้กับชุมชน อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากท่านอาจารย์ ดร.เสกสรรค์ ศิวิลัย สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในการมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีดิจิทัล ในหัวข้อความรู้ “Tik Tok แพลตฟอร์มแห่งโอกาส สู่การแจ้งเกิดทางธุรกิจ”

• องค์ความรู้/นวัตกรรม/เทคโนโลยีที่ใช้ในการบริการวิชาการ :

ในการอบรมหัวข้อความรู้ “Tik Tok แพลตฟอร์มแห่งโอกาส สู่การแจ้งเกิดทางธุรกิจ” ได้มีการนำองค์ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ผ่านแอปพลิเคชั่น TikTok ซึ่งถือได้ว่าเป็นแพล็ตฟอร์มที่กำลังเป็นที่แพร่หลายในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

• ชุมชนเป้าหมายมีผู้นำชุมชนหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้คือใครบ้าง และชุมชนดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มหาวิทยาลัยให้บริการวิชาการอย่างไร :

สมาชิกในกลุ่มผ้าทอย้อมดินและกลุ่มเกษตรอินทรีย์ได้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยการลงคลิปในแอปพลิเคชั่น TikTok ที่เป็นการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งมีการเพิ่มแฮชแท็คทุกครั้งที่มีการโพสท์คลิป 

• ชุมชนเกิดกลไกการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้รับองค์ความรู้อย่างไร :

ประชาชนในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการได้ดำเนินการพัฒนาทักษะเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลแอปพลิเคชั่น TikTok มาใช้ในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จัก โดยมีการลงคลิปในแอปพลิเคชั่น TikTok อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งมีการเพิ่มแฮชแท็คทุกครั้งที่มีการโพสท์คลิป ซึ่งที่เป็นการสร้างความทรงจำและการจดจำแก่ผู้ที่เข้ามาชมคลิป

• กิจกรรมการบริการวิชาการที่ท่านดำเนินการมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อชุมชน/องค์กร ในด้านต่างๆ อย่างไร :
(ระบุเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)

ประชาชนในพื้นที่มีช่องทางในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นผ่านแอปพลิเคชั่น TikTok และเมื่อผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นที่รู้จักมายิ่งขึ้นก็สามารถเกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านการขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ และผลักดันให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่เพื่อช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนในชุมชน

• การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความรู้หรือความเชี่ยวชาญจากสาขาของผู้ยื่น :

ผลิตภัณฑ์ของชุมชนทั้งผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผ้าทอย้อมดินและกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ได้รับการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นซึ่งถือได้ว่าเป็นช่องทางในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของชุมชนและได้มีการใช้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีมาช่วยในการเรียนรู้วิธีออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายหรือช่วยในการพัฒนาความรู้พื่อจะนำมาต่อยอดในอนาคต

• แนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป :

คณะดําเนินงานมีการติดตามประชาชนในพื้นที่ที่นำทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีที่อบรมไปใช้ประโยชน์ โดยการเข้าติดตามบัญชีผู้ใช้ TikTok เพื่อดูความเคลื่อนไหวและภาพรวมในการใช้ TikTok ซึ่งหากมีส่วนใดที่มีข้อผิดพลาดหรือมีข้อพัฒนาก็จะแจ้งให้เจ้าของบัญชี TikTok นั้นปรังปรุงหรือแก้ไขเพื่อพัฒนาในการใช้ประโยชน์ครั้งต่อไป

• ชุมชนที่ท่านให้บริการวิชาการ สามารถเป็นชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน (มากกว่า 5 ปี) ได้หรือไม่ อย่างไร :
(หากยังดำเนินการไม่ถึง 5 ปี กรุณาระบุแนวทางการพัฒนาชุมชนที่วางแผนจะทำต่อไป)

จากข้อมูลเรื่องการบริการวิชาการของคณะทำให้ทราบว่าทางคณะฯได้มีการลงลงพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี พบว่า บ้านวังหาด ต.ตลิ่งชัน อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย มีความเข้มแข็งในเรื่องผลิตภัณฑ์จากผ้าทอย้อมดินและผักเกษตรอินทรีย์ แต่ยังขาดเรื่องการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และเรื่องการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ยังขาดองค์ความรู้และอุปกรณ์ที่จะช่วยในเรื่องการประชาสัมพันธ์ หากส่งเสริมเรื่ององค์ความรู้และอุปกรณ์ประชาชนในกลุ่มผ้าทอย้อมดินและผักเกษตรอินทรีย์จะสามารถเป็นชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านการขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์

• แนบภาพนักวิจัยและภาพถ่ายประกอบกิจกรรมอย่างน้อย 5 ภาพ ขึ้นไป :
https://drive.google.com/drive/folders/18lPL5hOWpQBflblZ6_plH7JFcJ4m11lh?usp=sharing