ข้อมูลโครงการการ

รายละเอียดโครงการ โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน วิสาหกิจชุมชน มะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ชื่อโครงการ : โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน วิสาหกิจชุมชน มะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

กิจกรรม : กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดความรู้ ด้านศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนให้กับบุคคลที่สนใจเรียนรู้ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก กิจการมที่ 2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ และการกำหนดกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลกกิจกรรมที่ 3 โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชน และก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 4 โครงการการถอดบทเรียนศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ผู้รับผิดชอบ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภาภรณ์ อุ่นปรีชาวณิชย์
คณะ/หน่วยงาน :

• สภาพการณ์ของท้องถิ่นและสังคมก่อนมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น :

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสร้างสวนพลิกชีวิตน้ำตกปอย ตั้งอยู่เลขที่ 161 หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง            จ.พิษณุโลก ซึ่งคนในชุมชนส่วนใหญ่มีการปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไม้ผลต่าง ๆ เช่น มะขามหวาน มะขามเปรี้ยวยักษ์ มะม่วง มะปราง มะยงชิด กล้วย ทุเรียน และมีอาชีพเสริมคือการแปรรูปมะขาม ทั้งมะขามหวาน และมะขามเปรี้ยว มีการพัฒนาปรับปรุงสูตรจนเป็นที่นิยมต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยการแนะนำจากสำนักงานเกษตรอำเภอวังทอง ในปี พ.ศ2565 โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสร้างสวนพลิกชีวิต น้ำตกปอย” มีว่าที่ ร.ต.หญิงจุฬาวรรณ มหัทธโนฤกษ์ เป็นประธานกลุ่ม มีคณะกรรมการดำเนินงาน 7 ท่าน มีสมาชิกทั้งหมด 10 ครัวเรือน สมาชิกมีการร่วมลงหุ้นคนละ 10 บาท ต่อหุ้นไม่เกิน 500 บาทต่อคน เป็นการรวมตัวเกษตรกรทั้ง 2 ชุมชนริมฝั่งน้ำตกปอยได้แก่ ชุมชนบ้านปอย ต.แก่งโสภา ชุมชนปากน้ำปอย  และชุมชนนบ้านน้ำพรม  ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง  จ.พิษณุโลก ที่มีการแปรรูปมะขามให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และมีสินค้าจำหน่าย ณ บริเวณปากทางเข้าน้ำตกปอยตลอดทั้งปี

            ในปีงบประมาณ 2567 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี ซึ่งได้เลือกกลุ่มวิสาหกิจมะชามสร้างชีวิต ชุมชนหมู่บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น  อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทางคณะได้ดำเนินการเป็นปีที่ 3 เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลที่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ทำการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน จึงทำให้ทราบว่าชุมชนมีความต้องการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน ดังนั้น คณะวิทยาการจัดการ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน วิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย ต.วังนกแอ่น  อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ในการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนให้กับบุคคลที่สนใจเรียนรู้ เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชน และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

• รูปแบบการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน :

คณะฯ มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย โดยการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานในท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อกำหนดพื้นที่ในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม โดยพื้นที่เป้าหมายของคณะวิทยาการจัดการ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งทางคณะได้ดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวเป็นปีที่ 3 อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนและสามารถสร้างรายได้เพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

• บรรยายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย :
(ระบุหน่วยงานเครือข่าย และบรรยายว่ามีความร่วมมือกันแบบใด เช่น วางแผน ดำเนินงาน ติดตาม และปรับปรุง/พัฒนา)

   เครือข่ายภายใน  :

  • หน่วยงาน คณะวิทยาการจัดการ    
  • หลักสูตร

1) สาขาวิชาการตลาดเชิงสร้างสรรค์และดิจิทัล

2) สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ

3) สาขาวิชานิเทศศาสตร์

4) สาขาวิชาการจัดการ

5) สาขาวิชาการบัญชี

6) สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ

7) สาขาวิชาธุรกิจการค้าสมัยใหม่

8) สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการยุคดิจิทัล

9) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและภาครัฐ

10) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ   

  • โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหลักสูตรสาขาวิชาในคณะวิทยาการจัดการ

เครือข่ายภายนอก:

  • หน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น
  • กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
  • โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการเพื่อผลักดันผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้จากการบริการวิชาการสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
• องค์ความรู้/นวัตกรรม/เทคโนโลยีที่ใช้ในการบริการวิชาการ :

          คณะวิทยาการจัดการได้มีถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย ต.วังนกแอ่น  อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ดังนั้น การถ่ายทอดเนื้อหาจึงเป็นการบูรณาการแนวคิด การพัฒนา การวางแผนกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เพื่อให้เข้ากับบริบทของชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นจาก “รวมคน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสรุปบทเรียน” ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ฯ ดังกล่าวนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นแหล่งการจัดการเรียนรู้ทางการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น ตลอดจน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีพ และสามารถนำเสนอสิ่งเหล่านี้แก่ผู้มาเยือนทั้งในฐานะผู้ศึกษาดูงาน ผู้ที่สนใจจะมาเรียนรู้ และนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น รวมไปถึงแหล่งเรียนรู้ให้เด็กนักเรียนและเยาวชนในชุมชน เพื่อจะได้เกิดความรักและหวงแหนในทรัพยากรชุมชนของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนี้

 กิจกรรมต้นน้ำ กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดความรู้ ด้านศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนให้กับบุคคลที่สนใจเรียนรู้ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

กิจกรรมต้นน้ำ กิจกรรมที่ 2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ และการกำหนดกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

กิจกรรมกลางน้ำ กิจกรรมที่ 3 โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชน และก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

กิจกรรมปลายน้ำ กิจกรรมที่ 4 โครงการการถอดบทเรียนศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

 

 

 

  

 

 

 

            

• ชุมชนเป้าหมายมีผู้นำชุมชนหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้คือใครบ้าง และชุมชนดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มหาวิทยาลัยให้บริการวิชาการอย่างไร :

ชุมชนเป้าหมายมีผู้นำชุมชนหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้ ประกอบด้วย

  • นายชัยยนต์ มาไชยนาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น
  • นางปทุม ลำตาล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 16 บ้านปากน้ำปอย
  • ว่าที่ ร.ต.หญิงจุฬาวรรณ มหัทธโนฤกษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสร้างสวนพลิกชีวิต น้ำตกปอย
  • พ.ต.ท.ธนานพ นิ่มสุวรรณ์ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจภูธรแก่งโสภา
  • คุณนิรันดร์ ปันทะนันท์ ประธานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเกษตรอินทรีย์บางกระทุ่ม
  • นายสามารถ จันทร์โสม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำพรม
  • นายเจษฎา แสงจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำพรม
  • นางสาวอุดม โพธิ์เงิน เกษตรอำเภอวังทอง
  • นางสาวจุฑารัตน์ เอี่ยมสอาด พัฒนาการอำเภอวังทอง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวังทอง
  • นางสาวธัญรดี สลีวงศ์ พาณิชย์จังหวัดพิษณุโลก(ผู้แทน)
  • นายเมธัส สุริวงษ์นา ผู้จัดการศูนย์กลุ่มจังหวัดให้บริการSMEครบวงจร ภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิษณุโลก
  • นางสาวอรญา ศรีจันทร์สุข ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ผลไม้แห่งขุนเขา
  • นางเกยูร จารุรัตนพงค์ เกษตรอำเภอพรหมพิราม
  • นายปราโมทย์ ปลอดภัย ประธาน Young smart famer พิษณุโลก

ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน และบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อจะทำให้ศูนย์การเรียนรู้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย ต.วังนกแอ่น  อ.วังทอง จ.พิษณุโลก สามารถเป็นกำลังสำคัญในการขยายองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่น ๆ และสู่สังคมต่อไป

 

• ชุมชนเกิดกลไกการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้รับองค์ความรู้อย่างไร :

ชุมชนต้องมีการบบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนได้แก่ ประชาชนในชุมชนบ้านปากน้ำปอย รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องให้การสนับสนุนและพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะทำให้ศูนย์การเรียนรู้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย ต.วังนกแอ่น  อ.วังทอง จ.พิษณุโลก สามารถเป็นกำลังสำคัญในการขยายองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่น ๆ และสู่สังคม

• กิจกรรมการบริการวิชาการที่ท่านดำเนินการมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อชุมชน/องค์กร ในด้านต่างๆ อย่างไร :
(ระบุเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)

โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน วิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย ต.วังนกแอ่น  อ.วังทอง จ.พิษณุโลก จะทำให้เกิดประโยชน์และสามารถสร้างคุณค่าต่อชุมชน/องค์กรในด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้แก่

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ในการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนให้กับบุคคลที่สนใจเรียนรู้ เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผ่าน 5 ฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย

ฐานที่ 1 โรงเพาะ (ฟูมฟัก รักมะขาม) เป็นฐานที่ให้ความรู้ตั้งแต่การคัดเลือกกล้าพันธ์ของมะขาม ขั้นตอนการเตรียมดิน และวิธีการปลูกมะขามเปรียวยักษ์

ฐานที่ 2 ปุ๋ยหมัก (เพิ่มรัก) เป็นฐานที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับประโยชน์ของเศษมะขามต่าง ๆ ที่เหลือทิ้ง สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยน้ำหมักเพื่อใส่ในพืชผักเพื่อป้องกันแมลงรบกวน และสามารถนำไปใช้ในการกำจัดวัชพืชได้

ฐานที่ 3 มะขามแซ่บ (ฝึกฝนแปรรูป) เป็นฐานที่จะให้ผู้เข้าชมได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ที่ทางคณะวิทยาการจัดการไปช่วยยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สบู่มะขามน้ำผึ้งแท้ 100% และการสาธิตมะขามคลุกน้ำตาลรสแซ่บ

ฐานที่ 4 กิ่ง ใบ เมล็ด (เศษมหัศจรรย์) เป็นฐานที่ให้ความรู้ด้านการเพิ่มมูลค่าให้กับส่วนต่าง ๆ ของมะขาม เช่น กิ่งสามารถนำมาทำหนังสติ๊ก ทำเขียงไม้มะขาม ถ่านไม้มะขาม ใบสามารถนำไปเป็นปุ๋ยหมัก และเมล็ดสามารถนำไปเป็นอาหารปลาได้

ฐานที่ 5 มะขามแปลงร่าง (สู่รายได้) เป็นฐานที่ให้ผู้เข้าชมสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชน โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะขามสร้างชีวิต ได้ทำป้ายบอกทางมายังศูนย์การเรียนรู้ฯ โดยเริ่มตั้งแต่เส้นทางถนนใหญ่เข้าหมู่บ้านเรื่อยมาเป็นระยะ ตามจุดที่นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่สนใจ สามารถสังเกตป้ายเส้นทางการท่องเที่ยวได้ชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถเดินทางมายังศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อให้ศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นศูนย์ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

• การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความรู้หรือความเชี่ยวชาญจากสาขาของผู้ยื่น :

กลุ่มวิสาหกิจมะขามสร้างชีวิต บ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก จะสามารถเป็นชุมชนกลุ่มวิสาหกิจต้นแบบในการพึ่งพาตนเองได้ โดยคณะฯ มีนโยบายในการบูรณาการศาสตร์สาขาวิชาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และจะมีการ บูรณาการกับหน่วยงานภายนอก เช่น คณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม องค์การบริหารส่วนตำบล รวมถึงหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตลอดจนมีการบูรณาการกับการจัดการเรียน การสอนในรายวิชา และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการเพื่อเข้าไปพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม อย่างต่อเนื่อง

• แนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป :

คณะฯ จะทำการพัฒนาฐานข้อมูลของพื้นที่บริการวิชาการของคณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ในการ พัฒนาศักยภาพ ตามความต้องการของชุมชน และเพื่อการนำมาใช้ในการวางแผนงานพัฒนาการบริการวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• ชุมชนที่ท่านให้บริการวิชาการ สามารถเป็นชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน (มากกว่า 5 ปี) ได้หรือไม่ อย่างไร :
(หากยังดำเนินการไม่ถึง 5 ปี กรุณาระบุแนวทางการพัฒนาชุมชนที่วางแผนจะทำต่อไป)

กลุ่มวิสาหกิจมะขามสร้างชีวิต ชุมชนบ้านปากน้ำปอย หมู่ 16 ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก จะสามารถเป็นชุมชนต้นแบบในการพึ่งพาตนเองได้ โดยคณะฯ มีนโยบายในการบูรณาการศาสตร์สาขาวิชาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และจะมีการบูรณาการกับหน่วยงานภายนอก เช่น คณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม องค์การบริหารส่วนตำบล รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตลอดจนมีการบูรณาการกับการจัดการเรียน การสอนในรายวิชา และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการเพื่อเข้าไปพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม อย่างต่อเนื่อง

 

• แนบภาพนักวิจัยและภาพถ่ายประกอบกิจกรรมอย่างน้อย 5 ภาพ ขึ้นไป :